Home / สาระเป็นความรู้ / เทคนิคการปลูกข่า เพื่อสร้างรายได้อย่างมืออาชีพ

เทคนิคการปลูกข่า เพื่อสร้างรายได้อย่างมืออาชีพ

ป้าลิ้ม บัวรอด เกษตรกรผู้เลี้ยงปลา และยึดอาชีพปลูกข่าขายเป็นอาชีพเสริม จนส่งลูกเรียนจบมหาวิทยาลัยและมีงานทำเลี้ยงตัวเองได้ แต่ป้าลิ้มก็ยังสุขใจ ภูมิใจกับการทำงานของป้าเช่นเคย และยังไม่คิดจะหยุดทำ

ข่า นั้นมีมูลค่าในเชิงการค้า ขายได้ทั้งข่าอ่อนและข่าแก่ ประโยชน์ทางอ้อมสำหรับการปลูกข่านั้น ข่าเป็นระบบการป้องกันแมลงได้อีกรูปแบบหนึ่ง เพราะหากปลูกแซมหรือปลูกข่าดักทิศทางแมลงไว้ ข่าก็จะช่วยลดการเข้าทำลายพืชผลอื่นๆ ได้ด้วยเช่นกัน เพราะแมลงไม่ถูกโรคกับพืชที่มีกลิ่นฉุน นอกจากนั้น ประโยชน์ทางยาของข่า เหง้าแก่ รสเผ็ดปร่า และรสร้อน มีสรรพคุณขับลมให้กระจาย แก้ฟกบวม แก้พิษไข้ ซับโลหิตร้ายในมดลูก ขับลมในลำไส้ รักษาโรคกลากเกลื้อน ส่วนประโยชน์ทางอาหาร การปรุงอาหาร คนไทยทั่วประเทศ รู้จักข่ากันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเหง้าแก่ เหง้าอ่อน และดอกข่า ถือได้ว่าเป็นผัก เหง้าแก่ใช้เป็นเครื่องปรุงรส แต่งกลิ่น และเป็นเครื่องปรุงสำคัญของต้มยำทุกชนิด และแกงบางชนิด ส่วนเหง้าอ่อน ต้นอ่อน และดอกอ่อน นำมารับประทานสดๆ หรือลวกให้สุก ใช้เป็นเครื่องจิ้มกับน้ำพริก เหง้าอ่อนสด ยังสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้อีกด้วย เช่น ต้มข่าไก่ ตำเมี่ยงข่าไก่ หรือตำเมี่ยงข่า ดังนั้น การปลูกข่ายังสามารถทำรายได้ดีให้แก่เกษตรกรอย่างไม่ต้องสงสัย

การปลูกข่า ให้ได้ผลดีนั้น ไม่มีอะไรยุ่งยาก
1. ขุดหลุมให้ลึกประมาณ 10 เซนติเมตรและกว้าง 30 เซนติเมตร
2. รองก้นหลุมด้วยใบสะเดา ยาสูบหั่นฝอย หรือพืชที่มีกลิ่นฉุนเพื่อดักทางแมลงหรือหนอน แล้วตามด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า (หลีกเลี่ยงการใช้มูลวัวเพราะง่ายต่อการแพร่ของหนอนกอ) สำหรับการรองก้นหลุมแล้วจึงกลบดินถมให้ลึกประมาณ 20 ? 25 เซนติเมตรโดยให้ตาของหน่อข่าชี้ขึ้นด้านบน
3. ทิ้งระยะห่างระหว่างกอที่ 1 ? 1.2 เมตร
4. คลุมด้วยฟางหรือวัสดุที่เหลือใช้ในท้องถิ่นเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำจากการถูกแดดเผา หรือไม่ก็หาวัสดุคลุมให้เรียบร้อยเพื่อรักษาความชื้นในดินและถึงแม้จะดูยุ่งยากในช่วงแรกแต่ก็เป็นผลดีในระยะยาว

การดูแลรักษาข่าหลังการปลูก ถึงแม้ว่าข่าเป็นพืชที่ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากนัก โตได้ตามมีตามเกิดแต่หากต้องการผลผลิตที่ดีมีคุณภาพนั้นก็เห็นทีจะต้องบำรุงให้งาม เพื่อขายได้ราคาท่านอื่นไม่แน่ใจว่าจะใช้อะไรแต่สามารถใช้ปุ๋ยหมักทำเองที่ได้จากการหมักผักตบชวากับมูลไก่และแกลบ โดยใส่บริเวณโคนต้นจำนวน 0.5 กิโลกรัมต่อต้น เดือนละครั้ง หากเป็นปุ๋ยวิทยาศาสตร์ก็คงจะใส่น้อยกว่านี้ตามอัตราส่วน ส่วนการรดน้ำนั้นหากมีฟางหรือวัสดุคลุมไว้ก็จะช่วยรักษาความชื้นในดินได้ดี ทำให้ไม่ต้องรดน้ำบ่อยๆ โดยอาจจะรดน้ำอาทิตย์ละครั้ง แต่หากไม่มีวัสดุคลุมก็ควรดูจากระดับความชื้นในดิน

Facebook Comments Box

Check Also

กินน้ำตาลเป็น ชีวิตหวานชื่น

น้ำตาลจะไม่เป็น …