Home / สาระเป็นความรู้ / วิธีการปลูก และดูแล ฝ้าย

วิธีการปลูก และดูแล ฝ้าย

ฝ้าย เป็นพืชที่มีความสำคัญเนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำเสื้อผ้า จำเป็นต้องมีเส้นใยฝ้ายรวมอยู่ด้วยแม้การผลิตเส้นใยประดิษฐ์จะเจริญก้าวหน้าเพียงใดก็ตาม เสื้อผ้าที่ผลิตจากฝ้ายหรือส่วนผสมของฝ้ายยังคงเป็นที่นิยม เพราะสวมใส่สบาย ให้ความอบอุ่นพอเหมาะ ซึมซับเหงื่อและถ่ายเทอากาศดีกว่าเสื้อผ้าจากใยประดิษฐ์ ฝ้ายเส้นใยสั้นเป็นฝ้ายพื้นเมืองมีปุยหยาบ และมีความยาวของเส้นใยต่ำกว่า 1 นิ้ว เป็นวัตถุดิบที่สำคัญ ต่องานหัตถกรรมสิ่งทอพื้นบ้าน ประเทศไทยต้องการใช้ ปุยฝ้ายเส้นใยสั้นประมาณ 6,000 ตันต่อปี สำหรับฝ้ายเส้นใยยาวปานกลาง และเส้นใยยาว ที่ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นพันธุ์ฝ้าย ที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีความต้องการปุยฝ้าย ประมาณ 350,000 ตันต่อปีปัจจุบันประเทศไทยใช้ฝ้ายสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก

ปัญหาของพืชข้อจำกัดและโอกาส
-ฝ้ายเป็นพืชที่ต้องใช้แรงงานจัดการดูแลรักษาและมีต้นทุนในการผลิตสูงกว่าพืชไร่อื่นๆ ทำให้มีความเสี่ยงสูง
-ฝ้ายมีแมลงศัตรูหลายชนิดเข้าทำลายอย่างรุนแรง เช่น หนอนเจาะสมอฝ้าย เพลี้ยจั๊กจั่นฝ้ายและเพลี้ยอ่อนฝ้าย ซึ่งนอกจากทำความเสียหายแล้วยังเป็นพาหะของเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคใบหงิกฝ้ายด้วย จำเป็นต้องป้องกันกำจัดแมลงศัตรูเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลา

การเตรียมดิน
-ไถด้วยผาลสาม 1 ครั้ง ลึก 20-30 เซนติเมตร ตากดิน 2-3 สัปดาห์ พรวนด้วยผาลเจ็ด 1 ครั้ง ปรับระดับดินให้สม่ำเสมอแล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัวและไหลของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลง
-การปลูกในพื้นที่มากกว่า 25 ไร่ ควรปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ เพื่อสะดวกในการปฏิบัติงานด้วยเครื่องจักรกลการเกษตร

การวิเคราะห์ดิน
ถ้าดินมีค่าความเป็นกรดด่างต่ำกว่า 5.5 ให้หว่านปูนขาวอัตรา 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ พรวนดินกลบ แล้วปล่อยให้ฝนตกอย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนปลูก
ถ้าดินมีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.0 เปอร์เซ็นต์ ให้หว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายดีแล้ว อัตรา 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วพรวนกลบ

วิธีการปลูก
-ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีความงอกไม่ต่ำกว่า80เปอร์เซ็นต์
-ถ้าปลูกฝ้ายเป็นพืชแรกควรปลูกในระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมโดยใช้ระยะระหว่างแถว125-150เซนติเมตรระยะระหว่างหลุม50เซนติเมตร
-ถ้าปลูกฝ้ายเป็นพืชที่สองควรปลูกอย่างช้าประมาณปลายเดือนกรกฎาคม-กลางสิงหาคมโดยใช้ระยะระหว่างแถว50-80เซนติเมตรระยะระหว่างหลุม25เซนติเมตร
ใช้ไม้ปลายแหลมทำหลุมลึกประมาณ3-5เซนติเมตรแล้วหยอดเมล็ดหลุมละ3-5เมล็ดกลบดินหนาประมาณ3เซนติเมตรถ้าดินมีความชื้นสูงและหนาประมาณ5เซนติเมตรถ้าดินมีความชื้นต่ำ
-ฝ้ายอายุประมาณ3สัปดาห์ถอนแยกให้เหลือ2ต้นต่อหลุมและเมื่ออายุประมาณ4สัปดาห์ถอนแยกให้เหลือ1ต้นต่อหลุมถ้าสามารถป้องกันการทำลายของโรคใบหงิกได้ดีอาจจะถอนแยกให้เหลือ1ต้นต่อหลุมเมื่อฝ้ายอายุ3สัปดาห์

การให้ปุ๋ย:
-ให้ปุ๋ยเคมี 2 ครั้งๆ ละครึ่งอัตราครั้งแรกรองก้นร่องพร้อมปลูก ครั้งที่สองเมื่อฝ้ายอายุประมาณ 4 สัปดาห์ โดยโรยข้างแถว แล้วพรวนดินกลบ
-ให้ปุ๋ยเคมีตามชนิดและความอุดมสมบูรณ์ของดิน คือ
ดินเหนียวสีดำ-เป็นดินที่มีโพแทสเซียมพอเพียงต่อการเจริญเติบโตของฝ้าย ถ้ามีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ไม่ต่ำกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน ให้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 13 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ถ้ามีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ำกว่า 10 ส่วนในล้านส่วนให้ปุ๋ยสูตร 20-20-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่
ดินเหนียวสีแดง-ให้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร16-16-8อัตรา 70 กิโลกรัมต่อไร่ ดินทรายหรือดินร่วนทราย
-ให้ปุ๋ยสูตร สูตร 20-10-10 อัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่หรือสูตร 15-15-15 อัตรา 70 กิโลกรัมต่อไร่
ดินร่วนเหนียวสีน้ำตาลถ้ามีโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ไม่ต่ำกว่า40ส่วนในล้านส่วนให้ปุ๋ยสูตร 20-20-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ถ้ามีโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ต่ำกว่า 40 ส่วนในล้านส่วนให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร่

โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
1.โรคใบหงิก ใบมีขนาดเล็ก ใบอ่อนมีเส้นใบสีเขียวอ่อนกว่าปกติ ใบยอดหงิกม้วนหรืองุ้มลง ช่วงข้อต่อของลำต้นสั้น ถ้าเป็นโรคตั้งแต่ระยะกล้า ต้นจะแคระแกร็น ไม่ให้ผลผลิต ถ้าเกิดโรคกับต้นฝ้ายที่มีอายุมาก ใบยอดจะเป็นพุ่มเปราะและกรอบ มีจำนวนสมอน้อยลงมีเพลี้ยอ่อนฝ้ายเป็นพาหะควรกำจัดเพลี้ยอ่อนฝ้าย
2.โรคเหี่ยว ทำให้เจริญเติบโตช้าต้นแคระแกร็นใบเหี่ยวร่วงและต้นแห้งตายถ้าเกิดกับต้นฝ้ายที่มีอายุมากใบฝ้ายจะเริ่มเหลืองเป็นจุดอยู่ในระหว่างเส้นใบแผลขยายกว้างข?้นตรงกลางแผลแห้งใบร่วงเหลือแต่ใบยอดถ้าตัดโคนต้นที่เป็นโรค เนื้อไม้จะมีรอยขีดสีน้ำตาลดำ เชื้อราอยู่ในดินได้หลายปี ควรถอนต้นฝ้ายที่เป็นโรคตั้งแต่เริ่มแสดงอาการ เผาทำลายนอกแปลงปลูก
3.โรคใบไหม้ ใบจุดเหลี่ยม ก้านดำ หรือสมอเน่าแผลมีลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้ำ สีของแผลจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เกิดได้กับทุกส่วนของต้นฝ้ายและทุกระยะการเจริญเติบโต ตั้งแต่ระยะกล้าทำให้ใบเลี้ยงแสดงอาการไหม้ลามไปถึงยอดและตากำเนิดใบ ในฝ้ายที่มีอายุมากแผลจะขยายไปตามเส้นใบ ติดต่อไปถึงก้านใบและเข้าสู่ลำต้นแผลจะมีสีน้ำตาลดำ ถ้าเกิดกับสมอแผลจะเป็นจุดฉ่ำน้ำขยายกว้างไม่มีขอบเขต ตรงกลางแผลยุบสีน้ำตาลดำเมื่อมีเชื้อราชนิดอื่นเข้าทำลายซ้ำ สมอจะเน่า ในแหล่งที่พบการระบาดของโรคเป็นประจำ ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารแคบแทน

แมลงศัตรูที่สำคัญและการป้องกัน
1.เพลี้ยจักจั่นฝ้าย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและยอด ทำให้ต้นอ่อนแคระแกร็นหรือตาย ขอบใบเป็นสีน้ำตาลถึงแดง ใบกรอบแห้งและงุ้มลง ต่อมาใบ ดอกและสมอจะร่วงควรใช้สาร อิมิดาโคลพริด คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกและฉีดพ่น
2.เพลี้ยอ่อนฝ้าย อาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบอ่อนของฝ้ายทำให้ยอดฝ้ายชะงักการเจริญเติบโตและเป็นพาหะนำโรคใบหงิกควรใช้สารอิมิดาโคลพริดคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกและฉีดพ่น
3.เพลี้ยไฟฝ้าย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเจาะเยื่อใบฝ้ายและดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้บริเวณผิวใบด้านล่างมีสีเงินหรือสีบรอนซ์ หลังจากนั้นใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เหี่ยว และร่วง ถ้าเพลี้ยไฟเข้าทำลายฝ้ายในระยะต้นอ่อนอย่างรุนแรงอาจทำให้ฝ้ายชะงักการเจริญเติบโตหรือตาย ควรใช้สารอิมิดาโคลพริด คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกและฉีดพ่น
4.แมลงหวี่ขาวยาสูบ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบฝ้ายและถ่ายมูลทำให้เกิดราดำใบฝ้ายร่วงเร็วกว่าที่ควรและทำให้เส้นใยฝ้ายสกปรกควรใช้สารอิมิดาโคลพริดคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกและฉีดพ่น
5.หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกัดกินใบ ดอก และสมอฝ้ายทุกขนาดทำให้ดอกร่วง หนอนเจาะฐานของสมอเข้าไปกินภายใน ถ่ายมูลไว้บนสมอและริ้วประดับดอกทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงควรพ่นสารเบตาไซฟลูทริน30มล.น้ำ20ลิตรคลอร์ฟลูอาซุรอน 20-30 มล./น้ำ 20 ลิตร ไซฟลูทริน 20 มล./น้ำ 20 ลิตร แลมป์ดาไซฮาโลทริน 20-25 มล./น้ำ 20 ลิตรไทโอดิคาร์บ 60 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร

การป้องกันกำจัดวัชพืช
-ไถ 1 ครั้งตากดิน 2-3 สัปดาห์ แล้วพรวนดิน 1 ครั้งคราดเก็บเศษซากรากเหง้าหัว และไหลของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลง
-กำจัดวัชพืชด้วยแรงงานหรือเครื่องจักรกล 1-2 ครั้งเมื่อฝ้ายอายุประมาณ 3-4 สัปดาห์
-ก่อนฝ้ายแตกสมอ ถ้ายังมีวัชพืชปกคลุมควรกำจัดวัชพืชอีกครั้ง เพื่อป้องกันเศษใบและดอกของวัชพืชปะปนไปกับปุยฝ้าย
-ในกรณีที่กำจัดวัชพืชด้วยแรงงานหรือเครื่องจักรกลไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอควรพ่นสารกำจัดวัชพืช

การเก็บเกี่ยว
เก็บปุยครั้งแรกเมื่อฝ้ายอายุ 120 วัน หรือสมอฝ้ายชุดแรกแตกปุยเต็มที่ ต่อมาเก็บทุก 7-10 วัน,ควรเก็บระยะที่แดดออกหรือไม่มีน้ำค้างเกาะบนปุยฝ้าย เพื่อป้องกันปุยฝ้ายปนเปื้อนจากสิ่งสกปรก
เลือกเก็บเฉพาะสมอที่แตกปุยเต็มที่และแห้งสนิท,ใช้มือเก็บปุยฝ้ายที่ขาวสะอาดไม่ให้มีสิ่งเจือปนเช่นเศษใบริ้วประดับหรือวัชพืชติดมากับปุยฝ้าย,เก็บปุยฝ้าย แยกระหว่างปุยจากส่วนโคน กลาง และยอด โดยทั่วไปปุยฝ้ายจากส่วนกลางของลำต้นจะมีคุณภาพดีกว่าจากส่วนอื่นๆ ปุยฝ้ายที่เก็บได้จากสมอที่แตกไม่สมบูรณ์ ควรแยกบรรจุถุงไว้ต่างหาก ,ให้ใช้ถุงผ้าดิบเก็บปุยฝ้าย

Facebook Comments Box

Check Also

กินน้ำตาลเป็น ชีวิตหวานชื่น

น้ำตาลจะไม่เป็น …