1. ปลูกพืชและดูแลให้แข็งแรงสมบูรณ์ ซึ่งได้แก่ – ใช้เมล็ดพันธุ์ดี ปราศจากเมล็ดวัชพืชปะปน, ต้านทานโรค-แมลง – เตรียมดินและกัดวัชพืชอย่างถูกต้อง – ใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับชนิดดินและพันธุ์ข้าว – ระดับน้ำประมาณ 15 ซม. 2. ลงสำรวจตรวจแปลงนาทุกอาทิตย์ จำเป็นอย่างยิ่งที่เกษตรกรจะต้องลงตรวจ แปลงนา อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง โดยสำรวจตรวจตราอย่างใกล้ชิดว่าสภาพของข้าวเป็นอย่างไร ระดับน้ำ ปุ๋ย เพียงพอเหมาะสมแล้วหรือยัง ปริมาณ สัดส่วนของศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ สภาพดินฟ้าอากาศ เพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างถูกต้อง การสำรวจนี้เพื่อประเมินสภาพนิเวศน์วิทยาในแต่ละช่วงการเจริญเติบโตของข้าว
3. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ โดยปกติในนาข้าวเขตร้อนทั่วๆ ไป ปริมาณศัตรูธรรมชาติของศัตรูพืช เช่น แมงมุม แมลงปอ มวนดูดไข่ จิงโจ้น้ำ แตนเบียน เชื้อจุลินทรีย์ และสัตว์อื่นๆ อีกมากมายหลายชนิด มีอยู่อย่างเพียงพอที่จะควบคุมศัตรูข้าว ซึ่งมีชนิดที่สำคัญอยู่ไม่กี่ชนิดเท่านั้น สมดุลของธรรมชาตินี้ จะถูกทำลายลงหากเกษตรกรใช้สารเคมีอย่างไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะสารในกลุ่มไพรีรอยส์และออกาโนฟอสเฟต ซึ่งมีพิษกว้างขวาง ทำลายสิ่งที่มีชีวิตทุกชนิดในนาข้าว ซึ่งในที่สุดจะมีผลให้เกิดการระบาดเพิ่มมากขึ้น ในช่วง 30 วัน หลังจากปลูกข้าวแล้ว ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงใดๆ ทั้งสิ้น