Home / สาระเป็นความรู้ / วิธีการปลูกโกโก้

วิธีการปลูกโกโก้

โกโก้(Cocoa)เป็นไม้ผลของทวีปอเมริกากลางที่นิยมปลูกทั่วโลก เพราะเมล็ดเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตผงโกโก้และช็อกโกแลต ซึ่งนิยมรับประทานของคนทุกวัย

การปลูกโกโก้
โกโก้ เป็นพืชที่เติบโตได้ดีในเขตร้อน และเขตร้อนชื้น พบเติบโตในละติจูดที่ 20 องศาเหนือ ถึง 20 องศาใต้ ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 24-29ºC พื้นที่มีปริมาณฝนตกชุกทั้งปี แต่เป็นพืชที่ไม่ต้องการแสงมาก โกโก้ในประเทศไทยพบปลูกมากในภาคใต้ มักเติบโตได้ดีใต้ร่มไม้อื่นชอบดินร่วนปนทรายมีค่าpH5-5-7.0

โกโก้สามารถปลูกได้ด้วยเมล็ด แต่ที่นิยมส่วนมากจะปลูกด้วยต้นพันธุ์การเสียบยอดหรือกิ่งปักชำ เพราะติดลูกเร็ว และลำต้นไม่สูงมาก โดยเกษตรมักปลูกแซมกับไม้อื่นในสวน อาทิ ปาล์ม มะพร้าว หรือปลูกเป็นแปลงใหญ่สำหรับจำหน่ายเมล็ดโกโก้โดยเฉพาะ

การเก็บผลผลิต
โกโก้ที่ปลูกด้วยเมล็ดจะเริ่มติดผลประมาณ 2-3 ปี หลังปลูก และในช่วงปีที่ 8-15 จะเป็นช่วงที่ให้ผลดกที่สุด มีระยะเวลาหลังออกดอกจนถึงผลสุกพร้อมเก็บประมาณ 5-6 เดือน ผลที่เริ่มเก็บได้จะมีสีเหลืองหรือสีส้ม โดยใช้กรรไกรตัดขั้วผล ไม่ควรใช้มือเด็ด เพราะช่วยป้องกันขั้วบนกิ่งไม่ให้ช้ำทำให้ดอกรุ่นต่อไปมีความสมบูรณ์ และแทงดอกได้ง่าย

โรคโกโก้
โรคผลเน่าดำ เป็นโรคที่เกิดกับโกโก้ทุกพื้นที่ มีสาเหตุมาจากเชื้อรา Phytophthora palmivora มีอาการเริ่มจากพบจุดฉ่ำน้ำที่ผิวเปลือกผล ซึ่งจะเกิดขึ้นภายใน 2 วัน หลังเชื้อเข้ามาเกาะ ต่อมาจุดฉ่ำน้ำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีดำ พร้อมกับขยายไปทั่วผล โรคนี้แก้ไขได้โดยฉีดพ่นสารกำจัดเชื้อราในระยะติดผล หรือเมื่อพบการระบาดของโรค

การหมักโกโก้
เมล็ดโกโก้ในแถบประเทศเอเชียมักมีความเป็นกรดสูง ได้แก่ กรดแลคติก และกรดอะซิตริก ทำให้เกิดกลิ่น และรสที่ไม่พึงประสงค์ จนไม่เป็นที่นิยม และอุตสาหกรรมส่วนมากนิยมใช้โกโก้ที่ผลิตในแถบประเทศแอฟริกาตะวันตก เพราะมีความเป็นกรดต่ำกว่า

การหมักโกโก้ ถือเป็นกระบวนการสำคัญในการทำให้โกโก้มีกลิ่น และรสที่อร่อย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตช๊อกโกแลตที่ต้องใช้โกโก้ที่หมักได้คุณภาพดีเท่านั้น

1.การหมักในลังไม้
เป็นวิธีที่ใช้ในฟาร์มขนาดใหญ่ และเกษตรกรที่ต้องการคุณภาพการหมักที่ดี โดยใช้ถุงตาข่ายบรรจุเมล็ดโกโก้ ขนาด 5 กิโลกรัม นำเรียงซ้อนกันในลังไม้ ขนาด กว้าง ยาว และสูง ประมาณ 30 x 40 x 30 เซนติเมตร แล้วนำกระสอบมาปิดทับ แล้วหมักทิ้งไว้นาน 5-6 วันใน 3 วันแรกทำการกลับเมล็ดในถุงตาข่าย
2.การหมักในกะบะหรือถาดไม้
เป็นวิธีที่นิยมทั้งในเกษตรรายใหญ่ รายเล็ก และเกษตรกรที่ต้องการคุณภาพการหมัก เพราะสามารถแก้ปัญหาการหมักแบบอื่นที่มักมีเมล็ดโกโก้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แต่หมักได้ปริมาณน้อย โดยนำเมล็ดโกโก้มาในกะบะไม้ขนาด ยาว 90 กว้าง 60 และสูง 10 เซนติเมตร เทเมล็ดโกโก้เป็นชั้นๆ จากนั้นนำกะบะมาเรียงซ้อนกัน 8-12 ชั้น ส่วนด้านบนสุดปิดทับด้วยใบตองหรือกระสอบป่านหมักนาน 5-7 วัน ระหว่างหมัก 1-2 วัน กลับกะบะจากบนลงล่าง
3.การหมักในเข่ง
เป็นวิธีที่นิยมใช้ในผู้ปลูกรายย่อยจนถึงรายใหญ่ โดยนำเมล็ดที่แกะแล้วมาใส่ในเข่ง เข่งละประมาณ 20-200 กิโลกรัม ซึ่งด้านข้างวางล้อมด้วยใบตอง และวางใบตองทับด้านบนเข่ง 2-3 ชั้น จากนั้นหมักทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วันและในช่วง 1-2 วัน จะนำเมล็ดกลับลงเข่งอื่น วิธีนี้เกษตรรายย่อยในประเทศไทยนิยมใช้กัน
4.การหมักเป็นกองบนพื้น
เป็นวิธีที่ง่ายทำได้รวดเร็วและมีต้นทุนต่ำนิยมใช้ในเกษตรรายเล็กโดยนำเมล็ดที่แกะแล้วมากองรวมกันบนพื้นที่รองด้วยไม้กองสูงประมาณ60-90เซนติเมตรใช้เมล็ดโกโก้ประมาณ400-500กิโลกรัม/กองด้านบนกองคลุมด้วยผ้าหรือใบตองสด หมักทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน พร้อมกลับเมล็ดทุกๆ 1-2 วัน
5.การหมักบนแท่นตากแห้ง
เป็นวิธีที่ใช้มากในประเทศแถบทวีปแอฟริกา อาทิประเทศเอกวาดอร์ เริ่มจากแกะเมล็ดออกจากเปลือก แล้วนำเมล็ดมากองรวมกันบนแท่นตาก แล้วคลุมด้วยผ้า มีการเกลี่ยเมล็ดตากแดดในช่วงกลางวัน ส่วนช่วงกลางคืนเก็บเมล็ดมากองรวมกัน วิธีนี้ ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมเพราะจุลินทรีย์มักตาย และมีน้อย ไม่เกิดการหมักที่สมบูรณ์

Facebook Comments Box

Check Also

กินน้ำตาลเป็น ชีวิตหวานชื่น

น้ำตาลจะไม่เป็น …